นำเทรนด์การศึกษาก่อนใครต้องยกให้ ม.กรุงเทพ เมื่อการมาถึงของเมตาเวิร์สซึ่งเป็นอีกขั้นหนึ่งในวิวัฒนาการของอินเทอร์เน็ต Web 3.0 กำลังเป็นตัวเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในโลกธุรกิจและในระบบการศึกษา ม.กรุงเทพ จึงถือโอกาส Kick Off ให้เห็นกันชัดๆ จากการจัดงาน Open House BU 2022 on Metaverse ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเพื่อชี้ให้เห็นการศึกษายุคหน้าที่มีเทคโนโลยีหนุนหลังจะมีทิศทางการเรียนรู้เป็นอย่างไร
เรียกได้ว่าเป็นการสาธิตให้เห็นเป็นแนวทางก็ว่าได้ ที่บอกว่าเทคโนโลยีได้ดีสรับระบบการศึกษาในทุกระดับชั้นนั้นเป็นอย่างไร งานนี้ ม.กรุงเทพ ชี้เป้าไปที่การศึกษาระดับอุดมศึกษาตรงๆ จัดมาครบทุกเทคโนโลยีสร้างโลกเสมือนจริงผนวกการสร้างสรรค์การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ภายในงานเพื่อเปิดโลก Metaverse ด้านการศึกษาฉบับสมบูรณ์ และได้รับความสนใจทั้งจากนักเรียนมัธยมและบุคคลทั่วไป
ดร.ถิรพล วงศ์สะอาดสกุล ให้ข้อมูลว่า การเยี่ยมชมมาทำความรู้จักมหาวิทยาลัยกรุงเทพในจักรวาลนฤมิตในช่วงวันงาน Open House BU 2022 on Metaverse ที่ผ่านมานั้น ผู้ร่วมงานทุกคนจะได้เลือกร่าง Avatar เข้าไปสัมผัสรูปแบบใหม่ในการพบปะสังสรรค์ของนักเรียน นักศึกษา งานนิทรรศการและกิจกรรมแนะนำหลักสูตรคณะ/วิชา ได้ร่วมสนุกและชมความตระการตาของแฟชั่นโชว์และคอนเสิร์ตจากศิลปินชั้นนำ
ประสบการณ์ทั้งหมดภายในงานนี้มีเทคโนโลยีสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เช่น Virtual reality (VR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการจำลองสภาพแวดล้อมจริงแบบ 360 องศาเข้าไปโลกเสมือนจริง สามารถรับรู้ได้จากการมองเห็น การได้ยินเสียง และสัมผัส ใครที่ไปงานโอเพ่นเฮ้าส์ของม.กรุงเทพก็จะได้ทดลองสัมผัสสประสบการณ์แบบนี้อย่างสมบูรณ์ สภาพแวดล้อมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่เราเห็นด้วยตาในความเป็นจริงจะถูกยกเข้าไปอยู่ในเมตาเวิร์สทุกรายละเอียด ถ้าในอนาคตเราไม่อยากออกจากบ้านไปมหาวิทยาลัย เราก็เรียนทุกอย่างได้จากแพลตฟอร์มออนไลน์ที่พาตัวเราเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริงเมตาเวิร์ส
Augmented Reality (AR) ผ่านภาพ 3 มิติ อันนี้เป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เชื่อมต่อสภาพแวดล้อมจริงเข้ากับวัตถุและผู้คนที่สร้างขึ้นในโลกเสมือน เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้ผลิตสื่อการเรียนการสอนให้เข้าใจง่ายขึ้น
Mixed Reality (MR) เพื่อการสัมผัสและสร้างภาพยุคใหม่ที่ผสานโลกจริงเข้ากับจินตนาการ มอบประสบการณ์ใหม่ที่สามารถเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองในโลกเสมือนจริง นี่ก็แปลว่า ใดๆ ที่เป็นข้อจำกัดทางกายภาพที่ลงมือทำได้ยากในโลกจริงก็จะไม่ใช่เรื่องยากในเมตาเวิร์สแล้ว ขึ้นอยู่กับการออกแบบการเรียนรู้ (Design Learning) ของคณาจารย์ เพราะทุกคณะทุกสาขาวิชาของ ม.กรุงเทพ สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนการสอนใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
เห็นได้ชัดๆ ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นสาขาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ล้วนเป็นสาขาความรู้ที่เชื่อมโยงอยู่กับเมตาเวิร์สที่หลายภาคส่วนคาดการณ์กันว่าจะพัฒนาไปอย่างสมบูรณ์แบบในอีกไม่เกิน 5 ปี 10 ปีข้างหน้านี้
อาจารย์ยังบอกด้วยว่า “ การออกแบบและพัฒนาโลกเสมือนจริงของงาน Open House BU 2022 on Metaverse มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากพันธมิตรมืออาชีพด้านการออกแบบและสายงานไอที โดยมีนักศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม เข้าร่วมสังเกตการณ์วิธีการทำงานของมืออาชีพในการสร้างโลกเสมือนจริง รวมถึงนักศึกษาในสายนิเทศที่ได้ร่วมงาน Production แบบ XR และ AR ที่สำคัญ ประสบการณ์ของนักศึกษาที่ได้จากการทำงานครั้งนี้
สามารถนำมาต่อยอดการเรียนรู้และฝึกทักษะตนเองในสาขาวิชาที่เรียนได้ต่อไป ” มิ้นท์ผลงานกันได้ขนาดนี้ สมชื่อมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ตัวจริง
โดยสรุป ผลงาน Metaverse จากงาน Open House BU 2022 on Metaverse ของม.กรุงเทพ ถือว่ามีความสมบูรณ์แบบและเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้นักเรียน ผู้ปกครอง ได้มองเห็นทิศทางและรูปแบบการเรียนรู้ในอนาคตที่เปลี่ยนไป ทั้งยังแสดงให้เห็นอนาคตของการเรียนรู้อย่างไร้ขีดจำกัดที่จะพัฒนาขึ้นในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ด้วยรูปแบบที่เรียกว่า Immersive Learning ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริมพลังการเรียนการสอนและทำให้เห็นบทบาทชัดเจนของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่นอกจากจะเป็นพื้นที่เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ จากทั่วโลกแล้ว ยังเป็นแซนด์บ็อกซ์ (Sand Box) ให้ผู้เรียนใช้เป็นพื้นที่ฝึกฝนสร้างประสบการณ์ชีวิต ฝึกทักษะการทำงานทั้งที่เป็นซอฟต์สกิลและฮาร์ดสกิล อนาคตไม่ไกลจากนี้ การเรียนรู้ในเมตาเวิร์สและโลกการเรียนรู้จริงจะพัฒนาเดินหน้าไปพร้อมกัน ทำความรู้จักมหาวิทยาลัยกรุงเทพเพิ่มเติมได้ที่ metaverse.bu.ac.th