ติดตามเรา
บทความ

เล่นเกมเหมือนเสพยาจริงหรือ ?

0

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา เกิดเรื่องดราม่าขึ้นในโลกออนไลน์ เมื่อมีคุณหมอท่านหนึ่งในเพจ Dad mom and Kids ได้ออกมาโพสเสนอแนะผู้ปกครองทั้งหลายถึงภัยจากการเล่นเกมว่ามันมีโทษอันตรายร้ายแรงระดับเดียวกับยาเสพติดย์ เด็กเล่นเกมแล้วจะเสพติดความรุนแรง หมกมุ่นทางเพศ เสียคน ฯลฯ และเสนอคำแนะนำโดยการลบเกมทิ้งให้หมด ลูกๆ จะบ่นจะอะไรไม่ต้องสนใจ ซึ่งประเด็นดราม่านี้ได้แตกออกเป็นสองฝ่าย ได้แก่ฝ่ายผู้ปกครองที่เห็นด้วยกันวิธีการของคุณหมอ และอีกฝ่ายคือฝ่ายคนเล่นเกมที่ออกมาแสดงความเห็นต่าง ซึ่งล่าสุดคุณหมอก็ได้ลบโพสนี้ทิ้งไปแล้ว แต่ก็ไม่รอดเจ้าพ่อแห่งดราม่า จ่าพิชิต ขจัดพาลชน ที่ได้เสนอเรื่องราวมาให้อ่านกัน

image

 

อ่านบทความดราม่าโดยเว็บไซด์ฺ Drama ได้ ที่นี่

ประเด็นเรื่องดราม่าที่เกมจะเป็นขี้เป็นแพะนั้นจริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมบ้านเรา เพราะว่าในเมืองไทยเอง เกมก็ตกเป็นแพะจำเลยของสังคมมานานแล้ว แต่สำหรับกรณีวิธีการ “ห้ามลูกเล่นเกม” โดยการ “ลบเกมทิ้งและไม่ต้องสนใจลูกๆ” และการบอกว่า “เกมร้ายแรงเหมือนเสพยา” นั้นถือว่าเป็นประเด็นที่ค่อนข้างร้ายแรง เพราะมันเหมือนกับคนในวงการเกมกลายเป็นฆาตกรในสายตาของผู้ปกครองไปในตัว

แต่ทั้งนี้ แล้วตกลงว่าเกมมันให้อันตรายโทษร้านแรงแบบยาเสพติด เล่นแล้วเกิดความรุนแรง ก่ออาชญกรรมหรือเสพย์ติดทางเพศแบบที่คุณหมอกล่าวเอาไว้จริงรึเปล่า ? คนในวงการเกมหลายคนได้ออกมาพูดคุยและแสดงความเห็นเรื่องนี้กันค่อนข้างหลากหลาย แต่สำหรับในบทความนี้จะเป็นการพูดในมุมมองของคนที่อยู่ในวงการเกมมากว่าสิบปีทั้งในฐานะคนเล่นเกม , นักข่าวสายเกม , ผู้ที่เคยไปเยี่ยมชมงานเกมต่างประเทศ รวมไปถึงเจ้าของธุรกิจร้านอินเตอร์เน็ตกันนะครับ

1

ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า ถูกตามที่คุณหมอว่าบางส่วน เกมมันคือภัยร้ายแรงจริงๆ เพราะเกมนั้นจริงๆ มันก็มีหลายระดับมาให้เล่น ตั้งแต่เกมมุ้งมิ้งสร้างสรรค์เสริมทักษะพัฒนาการของเด็กๆ ไปจนถึงเกมก่ออาญชกรรมและเป็นฆาตกร รวมไปถึงเกมที่มีความรุนแรงต่างๆ แม้แต่ด้านทางเพศที่คุณหมอว่าเอาไว้จริงๆ มันก็มี เพราะอะไร ? ทุกอย่างมันย่อมมีสองด้าน เปรียบเสมือนเหรียญที่มีทั้งด้านหัวและด้านก้อย

แล้วทำไมเกมมันถึงมีความหลากหลาย ทำไมมันถึงมีทั้งด้านสร้างสรรค์และด้านลบ ? คำตอบก็คือ เกมมันถูกสร้างออกมาด้วยวัตถุประสงค์แยกกลุ่มคนเล่นออกไป ตั้งแต่กลุ่มคนเล่นที่เป็นเด็กๆ ไปจนถึงกลุ่มคนเล่นที่เป็นผู้ใหญ่ เกมเองก็เป็นสื่อบันเทิงที่ไม่ได้ต่างอะไรจากหนังหรือภาพยนต์ที่มีหลายระดับหลายเกรด และมีทั้งภาพยนต์แอนิเมชั่นไปจนถึงภาพยนต์ตบตีเลือดสาดเต็มจอ

2

สื่อบันเทิงนั้น หน้าที่ของมันก็คือการมอบความบันเทิงให้กับกลุ่มคนที่เสพมัน เกมกับหนังนั้นจะทำหน้าที่เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงเกมจะให้เราจำลองตัวเองเข้าไปในโลกเสมือนจริง และสามารถเปิดมุมมองที่กว้างกว่าและเข้าถึงได้ง่ายกว่า เพราะว่าเกมมันมีมุมมองที่หลากหลายและอนุญาตให้คนเล่นนั้นทำอะไรได้มากกว่าคนเล่นที่นั่งดูอยู่หน้าจอเฉยๆ

เคยมีประเด็นดราม่าระหว่างเกมกับละครไทยมาแล้ว ว่ามีกลุ่มคนที่รักละครไทยนั้นกล่าวโทษโจมตีเกมว่าเป็นสื่อที่มีความรุนแรง และพ่อแม่ต้องห้ามไม่ให้เด็กๆ ดู แต่ทางกลับกัน กลุ่มคนรักละครไทย กลับเทิดทูนบูชาละครไทยที่มีเนื้อหาความรุนแรง ตบจูบข่มขืนนางเอก และก็บอกด้วยคำพูดสุดคราสสิคว่า “มันก็แค่ละคร”

3

เป็นสื่อที่มีความรุนแรงไม่เหมาะสมกับเยาวชนเหมือนกัน แต่ทำไมถึงถูกปฏิบัติแตกต่างกันราวกับคนละชนชั้น ? เหตุผลก็คือ เพราะฝ่ายที่ดูละครไทยนั้น ไม่เคยสนใจเรียนรู้หรือดูว่าเกมมันเป็นอย่างไรนั่นเอง

ทุกวันนี้ เทคโนโลยีมันเข้ามาในชีวิตประจำวันมากขึ้น เด็กเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น มันปฏิเสธไม่ได้หรอกว่า ต่อให้ผู้ปกครองจะใช้วิธีกึ่งเผด็จการที่คุณหมอแนะนำมา โดยการลบเกมทิ้ง ห้ามเล่นเกมมันทุกอย่าง ลูกบ่นยังไงก็ไม่สนใจ มันเป็นไปไม่ได้กับโลกในยุคสังคมปัจจุบัน เพราะเด็กๆ นั้นจะต้องไปโรงเรียน ต้องไปเผชิญโลกภายนอก วิธีการที่คุณหมอแนะนำนั้นจะสามารถทำได้ แต่นั่นหมายถึงการกักบริเวณบุตรหลานในบ้าน ห้ามติดต่อกับโลกภายนอกอย่างถาวร

4

ร้านเกมก็เหมือนกัน ทุกวันนี้สังคมมองร้านเกมยังกับแหล่งมั่งสุมผลิตประชากรสุดอันตรายออกมาจากสังคม เด็กคนไหนเข้าไปในร้านเกมก็ต้องออกมากลายเป็นอาญชกรไม่ก็ฆาตกร ซึ่งในฐานะคนเขียนที่เปิดร้านอินเตอร์เน็ตมายาวนาน ต่างก็โดนกระแสมองในแง่ลบแบบนี้เสียจนเริ่มชินชาไปแล้ว ทั้งๆ ที่ร้านอินเตอร์เน็ตนั้น หน้าที่ของมันก็คือ การให้บริการอินเตอร์เน็ตกับลูกค้า และลูกค้าย่อมมีความหลากหลายในการใช้บริการ โดยที่ทางร้านนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย

สรุปง่ายๆ ว่า เหตุผลที่ผู้ปกครองหลายคนไม่ค่อยจะยอมรับ เกม นั้น เหตุผลเดียวก็คือ ไม่เคยศึกษารายละเอียดของตัวเกมเลย ไม่เคยมาดูว่ามันเป็นอย่างไร หรือดูก็ไม่เคยดูละเอียด ทำให้มองเห็นภาพไม่ชัดว่าเกมเองก็เป็นสื่อบันเทิงแบบเดียวกันกับภาพยนต์หรือละคร มันไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย เพราะทั้งเกมหรือภาพยนต์ มันก็มีหน้าที่ให้ความบันเทิงเหมือนกัน

5

และความบันเทิงนั้น ต้องรู้จักการเสพมันอย่างพอดี และต้องแยกแยะให้ออกว่า มันเป็นสื่อบันเทิงที่ดี หรือสื่อบันเทิงที่แย่ ?

อยากจะฝากถึงพ่อแม่ผู้ปกครองที่อ่านบทความนี้ อยากจะให้ลองเปิดใจให้กว้างในเรื่องของเกม หากว่าพวกท่านยอมรับสื่อบันเทิงประเภทละครหรือภาพยนต์ได้ว่า มันย่อมมีเนื้อหาทั้งดีและไม่ดีละก็ ท่านต้องยอมรับได้ว่า เกมเองก็มีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี แต่เราจะเลือกสื่อบันเทิงอย่างไร หรือจะปรับตัวเข้าหามันอย่างไร เพื่อไม่ให้มันทำร้ายบุตรหลานของเรา

6

และขณะเดียวกัน คนในวงการของเกมเอง ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการเกม หรือเจ้าของร้านอินเตอร์เน็ต ก็สมควรที่จะเลือกสื่อบันเทิงที่เหมาะสมกับกลุ่มคนเล่นที่เหมาะสม เพราะเด็กเองก็เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ การที่พวกเขาพบเจออะไรนั้นมันย่อมส่งผลกับการเรียนรู้ของพวกเขา แน่นอนว่าถ้าพวกเขาได้สัมผัสสื่อที่ดี ย่อมเติบโตมามีความคิดที่ดี แต่หากสัมผัสกับสื่อที่มีความรุนแรง ก็ย่อมเติบโตมาพร้อมกับความรุนแรงเช่นกัน

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน สำคัญคือ ยอมรับจุดดีและจุดเสียของมัน เพื่อไม่ให้มันทำร้ายเรา แต่เพื่อให้มันอยู่ร่วมกับเรา และเป็นสิ่งบันเทิงและมอบความสุข แบบหน้าที่ที่มันเป็นอยู่ให้ได้

สถาบันครอบครัวย่อมเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการปรับตัวและเรียนรู้สื่อบันเทิงเหล่านี้ เปิดใจให้กว้าง และเรียนรู้มันให้ได้ครับ

Leave a comment