Steam บทความ

บทความเฉพาะกิจ – สอนวิธีการลง DOTA 2 Beta สำหรับร้านที่ไม่ได้ใช้ HD ต่อเครื่อง

เนื่องจากว่ายังมีหลายร้านที่ยังไม่เข้าใจและไม่รู้ว่าจะลง DOTA 2 Beta ยังไงเพื่อไม่ให้ร้านตัวเองมีปัญหาตอนที่ลูกค้าจะมาเล่น คิดว่ากระทู้นี้คงช่วยได้ไม่มากก็น้อยนะครับ โดยเฉพาะกับร้านที่ใช้ระบบ NO hd ทั้งหลาย

** กระทู้นี้เจ้าของร้านควรมีความรู้เรื่องของการติดตั้งเกมผ่าน Steam มาก่อน สามารถศึกษาได้จาก 2 กระทู้ข้างล่างนี้นะครับ

ทำความรู้จักกับโปรแกรมเกมออฟไลน์ ตอนที่ 1 – Steam

(กระทู้เฉพาะกิจ) สอนวิธีการลงเกมออฟไลน์ผ่าน Steam

——————–

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเกม DOTA 2 ก่อนนะครับ

ตัวเกม DOTA 2 นั้นขณะนี้ยังเป็นเวอร์ชั่น Beta อยู่ ซึ่งยังไม่ใช่เวอร์ชั่นจริง แต่ทาง Valve ได้ประกาศออกมาแล้วว่าเกมนี้จะสามารถเล่นได้ฟรีเหมือนเกมออนไลน์ไปเลย เพียงแต่ว่าเนื่องจากมันไม่ใช่รูปแบบเกมออนไลน์ จึงเสมือนเป็นกึ่งเกมออฟไลน์ที่เน้นเล่นออนไลน์นั่นแหละครับ ทำให้ตัวเกมมีความแตกต่าสงจากเกมออนไลน์นั่นเอง

โดยปกติแล้วเกมของทาง Valve นั้น นอกจากตัวเกม DOTA 2 แล้วยังมีอีก 2 เกมที่สามารถเล่นได้ฟรี 1.) คือ เกม Team Fortress 2 ซึ่งตัวเกมเล่นได้ฟรีเหมือนกัน แต่ไม่อนุญาติให้ร้านเน็ตเอาลงได้นะครับ (ตามคำบอกกล่าวของทาง Cybergame Thailand ซึ่งได้ครองลิขสิทธิเกมเครือ Valve อยู่) นอกจากว่าต้องซื้อลิขสิทธิของ VCP ( Valve Cybercafe Program ) ถึงจะสามารถลงร้านได้ ส่วนอีกเกมก็คือ Alien Swarm ซึ่งเกมนี้ลงร้านได้โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ทั้งสิ้น แต่หลักการมันก็ไม่ต่างจาก DOTA 2 เลยครับ ดังนั้นหากต้องการที่จะลงเกม Alien Swarm ด้วย สามารถใช้วิธีการเดียวกันกับ DOTA 2 ได้เลยครับ

ประเด็นสำคัญก็คือ ตัวเกม DOTA 2 นั้นมันต้องเล่นผ่านระบบ Steam ซึ่งเราไม่สามารถตั้งค่าให้มันเล่นออฟไลน์แล้ว Lan กันเองได้ ตัวเกมเน้นที่การออนไลน์โดยเฉพาะ ปัญหาที่ตามมานั้นจะมีอยู่หลักๆ 2 เรื่อง คือ 1. ID ที่มีให้เล่นจำกัดและก็ไม่มีร้านไหนอยากปล่อย ID ให้เด็กรู้ และ 2. ก็คือ มีผลกระทบกับร้านที่ลงเกมออฟไลน์จากทาง STEAM  ไว้ก่อนแล้ว

ยังไง ? ประเด็นแรกคือ ตัวเกมนั้นจะผูกกับ ID ของ Steam ซึ่งตอนนี้เกมยังไม่ได้เปิดฟรีให้สามารถเล่นได้ทุกคน แต่ถ้าจะเล่นก็ต้องมี CD-key ในการเอาตัวเกมผูกกับ ID ของ Steam ถึงจะเล่นได้ ซึ่งสำหรับร้านเน็ตนั้นได้กันมาแค่ร้านละ 10 ID และก็ไม่มีร้านไหนอยากปล่อยให้ลุกค้ารู้ ID กันอยู่แล้ว เนื่องจากว่าลูกค้าสามารถเอา ID ที่ว่านี้กลับไปเล่นที่บ้านหรือร้านอื่นได้เลย ประเด็นนี้จึงเป็นปัญหาสำคัญที่หลายร้านต้องเจอ

ส่วนประเด็นที่สองนั้นก็คือ หากทางร้านมี ID ของ Steam อยู่แล้ว 1 ID และใช้ซื้อเกมออฟไลน์บน Steam บริการในร้านอยู่แล้ว หากต้องการที่่จะเล่น DOTA 2 ด้วย ID อื่น ก็ต้องล็อคอินด้วย ID อื่นไป ปัญหาตามมาก็คือ หากลูกค้าต้องการที่จะเล่นเกมออฟไลน์ที่ทางร้านซื้อมาลงไว้อยู่แล้ว ลูกค้าจะไม่สามารถเข้าเล่นได้ เนื่องจากมันเข้าคนละ ID นั่นเอง Steam จึงมองเห็นเกม แต่ไม่สามารถเข้าเกมได้ เนื่องจาก ID นั้นๆ ยังไมได้ซื้อเกมนั่นเอง (และก็คงไม่มีร้านไหนอยากจ่ายเพิ่มอยู่แล้ว) ดังนั้นก็ต้องล็อคเอ้าท์ออกจากระบบ Steam แล้วใส่ id ใหม่ ซึ่งอาจเป็นการเผยไต๋ให้ลูกค้าเรียนรู้ระบบ Steam จึงถึงเอาไปเล่นที่ร้านอื่นหรือเล่นที่บ้านได้นั่นเอง

ฉะนั้น กระทู้นี้ผมจะสอนวิธีการรับมือ 2 ประเด็นนี้เป็นหลักนะครับ เตือนไว้ก่อนนะครับว่า ในการลงเกม DOTA 2 ในร้านนั้น ไม่รวมไปถึงเกมอื่นๆ ที่มีบน Steam อยู่แล้ว หากต้องการจะลงเกมอื่นๆ บน STEAM ด้วย ควรศึกษาก่อนว่าเกมไหนสามารถลงร้านได้ เกมไหนต้องเสียลิขสิทธิ

 

การรับมือประเด็นที่ 1

เหมาะสำหรับ
– ร้านที่ไม่ลงเกมออฟไลน์เกมอื่นบน Steam เลยสักเกม

ก่อนอื่นนะครับให้ลงเกม DOTA 2 ตามปกติในเครื่องลูกในร้านให้เสร็จ ลงให้เหมือนลงเกมปกติไปเลยนะครับไม่ต้องกังวลว่าจะมีผลกระทบใดๆ กับระบบ NO HD หรือระบบ Sever โดยวิธีการดาวโหลดหรือลงเกม สามารถอ้างอิงได้จากกระทู้ของผม หรือจากที่ Godensoft ได้แปะบอกเอาไว้ >> http://sdgo.goldensoft.co.th/board/forum.php?mod=viewthread&tid=49058

** สำหรับร้านไหนที่คิดจะลงเกมออฟไลน์อื่นๆ บน Steam ในอนาคต แนะนำให้ติดตั้ง Steam ไว้ในไดรฟ์อื่นที่มีไว้ลงเกมโดยเฉพาะนะครับ เพราะตัวเกมจะติดตั้งลงในโฟเดอร์ของ Steam ครับ (หนึ่งในกลยุทธิ์ที่ลูกค้าจะไม่สามารถแอบกอปปี้ตัวเกมไปได้ระดับหนึ่ง)

เมื่อลงเกมเสร็จแล้วให้ทำตามขั้นตอนนี้

1. ) ID ของทางร้านที่สมัครบน Steam และผูกตัวเกม DOTA 2 ไว้นั้น ควรจะมี Password เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการล็อคอินให้ลูกค้า เช่น ID : ict01 pass : 123456 , ID : ict02 pass : 123456 เป็นต้นครับ และสำคัญคือ ในแต่ละ ID นั้น ต้องมี E-mail เป็นของตัวเองและใช้งานได้จริง (ไม่เคยใช้ E-mail ซํ้าเลยไม่แนะนำวิธีนั้นครับ)
2.) วาง Shotcut ตัวเกม DOTA 2 ไว้บน Destop อย่าวาง Icon ของ Steam ลงบน Destop เพราะเด็กอาจดาวโหลดเกมอื่นมาเล่นครับ
3.) ตอนที่ล้อคอินเข้าระบบ Steam นั้น ไม่ต้องติ๊กคำว่า “จำรหัสผ่านเอาไว้” เพราะลูกค้าอาจจะล็อคอินซ้อนกันได้ครับ

4.) ลองล็อคอินแล้วเข้าเกมดูเลย (การกดเข้า icon ของเกม DOTA 2 ครั้งแรก มันจะขึ้นโปรแกรม STEAM มาให้ใส่รหัสผ่าน) ถ้าเข้าเกมได้ ก็โอเค
5.) ไปที่เมนูของ Steam ข้างบน เลือก STEAM > การตั้งค่า แล้วดูตรงบัญชี จะมีปุ่มเขียนเอาไว้ว่า จัดการระบบ Steam Guard อยู่

ระบบ Steam Guard ก็คือ ระบบการป้องกัน ID ของเราไม่ให้ไปล็อคอินเครื่องอื่นได้ง่ายๆ ซึ่งระบบนี้ตัวระบบของ Steam จะจดจำเครื่องที่ล็อคอิน ID เอาไว้ต่อเครื่องโดยไม่สนว่าในเครื่องนั้นๆ จะมี HD ในเครื่องหรือไม่มี HD ในเครื่องก็ตาม เช่น ถ้าผมล็อคอินเครื่อง 1 ไปแล้วจะไปล็อคอินเครื่องที่ 2 จะไม่สามารถล้อคอินเข้าไปได้ทันที เพราะว่าติดระบบ Steam Guard นั่นเอง

ระบบ Steam Guard นั้นมีความเหมาะกับร้านเน็ตตรงที่ว่าเราสามารถป้องกันไม่ให้เด็กขโมยรหัส ID Steam ของเราไปล็อคอินที่อื่น (โดยเฉพาะเอาไปเล่นร้านอื่นหรือเล่นเองที่บ้าน) ต่อให้เด็กรู้ ID และ Password ของเราก็ตาม แต่ถ้าเราเปิดระบบ Steam Guard เอาไว้ เด็กจะไม่สามารถเข้าระบบ Steam และเล่นเกมได้ 100 % ตราบใดที่เด็กไม่รู้รหัสในการเข้าระบบ E-mail ของเราครับ (ด้วยเหตุนี้ผมถึงแนะนำว่า แต่ละ ID  นั้นควรจะมี Email ของตัวเองและต้องใช้งานได้จริง)

หากว่ามีการล็อคอินเครื่องอื่น ตัว Steam จะขึ้นข้อความนี้ขึ้นมาครับ

ทางร้านนั้นมีทางเลือกอยู่สองทางนะครับว่าจะเลือกแบบไหน ระหว่าง

(5.1) ไม่ต้องเปิดระบบ Steam Guard เพื่อให้สามารถล็อคอินเข้าระบบได้เลยโดยไม่ต้องยุ่งยาก แต่เสี่ยงกับการโดนลูกค้าแอบจดจำรหัสแล้วขโมยเอาไปเล่น สำหรับร้านไหนที่ลงเกมออฟไลน์เกมอื่นบน STEAM ด้วย ID นี้ ไม่แนะนำให้ปิด
(5.2) เปิดการใช้งานระบบ Steam Guard เพื่อป้องกันการขโมย ID ไป วิธีการเข้าเกมนั้นอาจจะเสียเวลานิดหน่อย แต่สามารถป้องกันได้ดีทีเดียว

หากว่าร้านไหนจะใช้วิธีในข้อ 5.1 ให้ปิดระบบ Steam Guard ได้โดยการกดปุ่ม จัดการระบบ Steam Guard แล้วติ๊กออก

ส่วนร้านไหนจะทำตามวิธีในข้อ 5.2 ให้เปิดระบบ Steam Guard เอาไว้ โดยการกดปุ่มเข้าไปแล้วกดติ๊กถูกเอาไว้

คำถามว่า แล้วถ้าจะให้ลูกค้าเล่น ID ดังกล่าวในเครื่องอื่นจะทำยังไง ทำได้ครับ โดยการล็อคอินเข้าระบบตามปกติ (ทางเราขอแนะนำให้ล็อคอิน ID  และ Pass ผ่านระบบโปรแกรมรีโมทโดยที่เจ้าของร้านไม่ต้องเดินไปล็อคอิน ID ถึงโต๊ะ เนื่องจากเสี่ยงที่จะโดนเด็กแอบจำรหัสครับ) โดยระบบ Steam ขึ้นมาแบบในรูปข้างต้น ให้กดเลือก “ฉันได้รับข้อความจากฝ่ายสนับสนุนของ Steam” แล้วกด ต่อไป

ตัวระบบ Steam จะขึ้นช่องให้ใส่รหัสมาแบบนี้

ให้ไปที่ E-mail ของเราที่สมัครกับ ID อันนี้ จะมีจดหมายของ Steam ส่งมาว่า Your Steam account: Access from new computer (สำหรับร้านไหนที่มีหลาย ID ที่จะเล่น DOTA 2 ได้ ควรมีการเปิดเช็ด mail หลายบราวเซอร์เพื่อความรวดเร็วครับ

ในจดหมายนั้นจะมีรหัสส่งมาให้ ให้เอารหัสนี้ใส่เข้าไปในโปรแกรมของ Steam ครับ

** รหัสที่ทาง Steam จะส่งมาให้จะไม่เหมือนกันสักครั้งนะครับ

เมื่อใส่ไปแล้วกดเสร็จสิ้น จะสามารถเข้าระบบ Steam และเข้าเกมได้ในทันทีครับ

คำแนะนำหลังจากนี้
– เมื่อลูกค้าเล่น DOTA 2 จบแล้วและเลิกใช้บริการไปแล้ว ให้เปิดหน้าจอเครื่องนั้นจากโปรแกรมคุมร้าน แล้วรีโมทเข้าไป มองที่มุมล่างขวา หา icon ของ STEAM คลิกขวาแล้วเลือก “ออก” ไปเลยเพื่อความสะดวกเผื่อลูกค้าท่านอื่นต้องการที่จะเล่นเกม DOTA 2 ด้วยรหัสอื่น

– หากว่ามีลุกค้าคนอื่นต้องการจะเล่น ID อื่นต่อทันทีหลังจากที่ลูกค้าคนเดิมเลิกเล่นไปแล้ว อาจเลือกวิธีการ “รีสตาร์ทเครื่อง” ไปเลยเพื่อความรวดเร็วนะครับ
– หลังจากล็อคอินเข้าไปได้แล้ว หากเครื่องนั้นๆ ไม่ได้ทำการรีสตาร์ทหรือปิดเครื่อง ก็จะสามารถล็อคอินเข้าไปได้ทันทีโดยไม่ต้องเอารหัสจาก mail ของ steam ใส่เข้าไปอีกรอบ
– บางครั้งการล็อคอินเข้าไปตัวโปรแกรม Steam อาจนิ่ง ค้าง หรือหายไปเลย ไม่ต้องตกใจ มันกำลังทำงานอยู่ แต่หากมันนานเกินไป ควรเช็ดการอัพเดตของ Steam เอาไว้เสมอเพื่อไม่ให้ครั้งต่อไปมันโหลดเข้าระบบช้าอีก หรือถ้าทนไม่ไหว กดสั่งปิดแล้วล็อคอินใหม่ก็ได้
– ตอนที่ล็อคอินเข้าระบบและใส่รหัสจาก mail ของ Steam นั้น ควรทำด้วยความรวดเร็วเพื่อกันไม่ให้มันเข้าระบบไม่ได้ครับ (วิธีการที่ง่ายที่สุดคือ เปิด mail ไว้ล่วงหน้าเลย)

6. ขั้นตอนนี้ยังไม่จบนะครับ เราต้องตั้งค่าอีก 1 อย่างเพื่อป้องกันพวกลูกค้าที่รู้ดีและทำการโหลดเกมอื่นบน Steam ให้ได้ระดับหนึ่ง เนื่องจากว่าการโหลดเกมบน STEAM นั้นมันจะโหลดได้แรงมากๆ แรงเหมือนโหลดบิท จะส่งผลกระทบกับความเร็วอินเตอร์เน็ตในร้านแน่นอน แต่มีวิธีอยู่ครับ ทำตามนี้นะครับ

ไปที่ STEAM > ตั้งค่า > ดาวโหลด

ตรงความเร็วในการดาวโหลดนั้น เปลี่ยนไปเป็น “โมเด็ม – 56k”
การค้นหาเซิร์ฟเวอร์เกม เปลี่ยนเป็น “250”
ตรงภูมิภาคดาวโหลด เปลี่ยนเป็นประเทศไหนก็ได้ เอาให้ไกลจากเมืองไทยที่สุด
และสุดท้าย เอาติ๊กถูกตรง “เปิดตัวจัดการภาพถ่ายหน้าจอ” ออก เพื่อกันไม่ให้ลุกค้าที่เผลอกดถ่ายภาพหน้าจอแล้วตอนออกเกม Steam มันขึ้นโชว์ จะได้ไม่ต้องให้ลูกค้าสงสัยหรือสนใจระบบของ STEAM

เสร็จแล้ว กด ตกลง เพียงเท่านี้หากลูกค้าคิดที่จะดาวโหลดเกมอื่นๆ ละก็ จะโหลดได้โคตรช้าเลยหละครับ

คำแนะนำต่อ
– โปรแกรมคุมร้านของท่านควรจะมีระบบสามารถสั่งปิดโปรแกรมได้ แล้วคอยเช็ดตลอดว่าลูกค้าคนดังกล่าวได้ทำการ “แบ็คอัพ” ตัวเกม DOTA 2 เอาไว้รึเปล่า แล้วแอบขี้โกงโดยการสั่งปิด STEAM ไปหน่อยละกัน กันไม่ให้เด็กมันเอาตัวเกมไปเล่นเองที่บ้านหรือที่อื่น
– ระวังอย่าให้เด็กดาวโหลดเกม Team Fortess 2 มาเล่นโดยเด็ดขาด! เพราะเกมนี้ถึงจะเล่นได้ฟรี แต่ก็เฉพาะคนเล่นบ้าน แต่ร้านเน็ตหากจะลง ก็ต้องซื้อลิขสิทธิเอามาลงในร้านในราคาเครื่องละ 250 / เดือน / เครื่อง โดยทาง Godensoft ยังไม่เปิดขาย ถ้าจะซื้อ ไปใช้บริการได้กับ Cybergame Thailand นะครับ > http://www.e-clubthailand.com/vcp

การรับมือประเด็นที่ 2

เหมาะสำหรับ
– ร้านที่ลงเกมออฟไลน์เกมอื่นบน Steam ไปแล้ว โดยเฉพาะจากคำแนะนำของผม

สำหรับประเด็นนี้ ร้านไหนที่ได้ซื้อเกมออฟไลน์จาก STEAM ไปลงในร้านก่อนแล้วก็ต้องเจอปัญหาอย่างที่ผมเอ่ยเอาไว้ข้างต้น ซึ่งมันก็มีวิธีการในการรับมืออยู่บ้างครับ

สำหรับร้านไหนที่ตั้งค่า Steam ออฟไลน์เอาไว้อยู่ก่อนแล้ว เวลาที่้เปิดคอมครั้งแรก มันจะโชว์ข้อความดั่งในภาพนี้ใช่ไหมครับ (ซึ่งทางร้านก็ต้องบอกให้เด็กกดเลือก “ล็อคอินแบบออฟไลน์” อยู่แล้ว) คุณสามารถกดเลือกทางซ้ายมือเพื่อให้ล็อคอินแบบออนไลน์ได้เลย

ปกติจะให้กดทางขวา แต่ถ้าจะเล่น DOTA 2 ก็ต้องกดทางซ้าย

Steam จะออกจากระบบแล้วขึ้นหน้าให้ล็อคอินใส่ ID + Pass ก็สามารถใส่ได้ตามปกติในขั้นตอนข้างต้นเลยครับ

ส่วนขั้นตอนการเปลี่ยนให้ Steam เล่นเกมออฟไลน์ที่ตนเองซื้อเอาไว้ได้นั้น คุณจำเป็นต้องเปลี่ยน ID ของ Steam กลับมาเป็น ID เดิมที่คุณซื้อเกมลงเอาไว้ก่อนอยู่แล้ว แล้วก็ต้องตั้งค่าให้มันออฟไลน์อีก บอกได้เลยนะครับว่าเสียเวลาครับ ดังนั้นผมจึงขอแนะนำให้ กด ReSTART เครื่องไปเลย เพื่อให้โปรแกรม Steam ขึ้นหน้าต่างให้เลือกออนไลน์กับออฟไลน์เหมือนเดิมนะครับ

สำหรับร้านไหนที่ยังสงสัยหรือมีคำถามเพิ่มเติมสามารถโพสถามไว้ได้เลยนะครับ หวังว่าขั้นตอนวิธีการพวกนี้คงช่วยทำให้รับมือกับปัญหาของเกม DOTA 2 ไปได้จนกว่าตัวเกมจะเปิดบริการจริงนะครับ

Leave a comment