เมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ทางคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้จัดโครงการ Bบ GAME JAM 2019 เป็นปีที่ 2 ร่วมกับพันธมิตรด้านการศึกษาในอุตสาหกรรมเกมชั้นนำ เปิดเวทีแข่งขันระดับนักศึกษา ปูทางสู่การยกระตับคุณภาพนักพัฒนาเกมในอนาคตของนักศึกษาชันปีที่ 1 สาขาวิชาเกมและสือเชิงโต้ตอบ โดยงานนี้จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ รังสิต
ดร. พัฒนพล เหรียญโมรา รองคณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรม ได้กล่าวพูดคุยกับสื่อมวลชนว่า โครงการ BU GAME JAM เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ประจำปีที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพใช้เป็นเวที่ฝึกฝนทักษะและเพิ่มประสบการณ์เรียนรู้ในการพัฒนาเกมและสื่อเชิงโต้ตอบ ส่งเสริมการลงมือปฏิบัติผ่านกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิด Creativity + Technology โดยผสานความรู้ข้ามศาสตร์ คือ วิชา Digital Storytelling คณะนิเทศศาสตร์และวิชา Object-oriented Programming คณะ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม รวมทั้งจัดบรรยายพิเศษให้นักศึกษา โดยเิญวิทยากรมืออาชีพตัวจริง มาให้ความรู้ มุมมอง และแบ่งปันประสบการณ์ตรงช่วยชี้แนะแนวทางและ เทรนด์การออกแบบเกมที่โดนใจตลาด
“นักพัฒนาเกมที่มีฝีมือต้องมีเวทีพัฒนาทักษะทุกด้านทั้ง ความคิดสร้างสรรค์ การเล่าเรื่อง และ การใช้ เทคโนโลยี เวที GAME JAM ในระดับสากลที่จัดขึ้นในหลายประเทศชัน นา ถือว่าเป็นกิจกรรมที่สามารถยกระดับความสามารถของนักพัฒนาเกมได้ดี รูปแบบ BU GAME JAM จึงเป็นเครื่องมือลับสมองประลองฝีมือของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เพื่อก้าวสู่อุตสาหกรรมเกมและสื่ออินเตอร์แอคทีฟอย่างมีคุณภาพ โดยสามารถทำงานไปพร้อมๆ กับการเรียน” ดร.พัฒนพล กล่าว
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดหลักสูตรเกมและสือเชิงโต้ตอบ โดยมีมหาวิทยาลัย Full Sail University สหรัฐอเมริกาผู้นำระดับโลกสาขา Game Design ร่วมกันพัฒนาหลักสูตร มุ่งผลิตบุคลากรรองรับทุกสายงานอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเกมและอีสปอร์ต เช่น Animator, Audio Engineer, Game Creative Director, DevOps Engineer, Game Designer, Technical Artist และ ฯลฯ โดยให้นักศึกษาได้ลงมือทำงานจริงกับองค์กรที่ร่วมเป็นพันธมิตรด้านการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเกม การทำโปรเจ็กต์เกม โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเกมเป็นพี่เลียงช แนะให้คำปรึกษา มีการ ศึกษาดูงานกับบริษัทผู้ผลิตเกม ร่วมรายการแข่งขันเกม และกีฬาอีสปอร์ตในทัวนาเม้นต์ต่างๆ
เมื่อร่วมการ แข่งขัน BU GAME JAM 2019 นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีโอกาสฝึกทักษะ Soft Skill ที่สำคัญ เช่น ความคิดสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีม รวมทั้งทักษะในสายอาชีพที่ ชอบและ ใช่ การ แข่งขันครั้งนีมีผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 50 ราย กำหนดเวลา 7 สัปดาห์ ให้นักศึกษารวมกลุ่มพัฒนารองราว (Story) และตัวต้นแบบ (Model) ของเกมคอมพิวเตอร์ และมี 10 ผลงานที่ผ่านรอบคัดเลือก
ในรอบชิงชนะเลิศ นักศึกษานำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นพันธมิตรด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จากภาคอุตสาหกรรมเกมและสือเชิงโต้ตอบ ประกอบด้วย 1. บริษัท ทรู แอกซิออน 2. บริษัท อิกดราซิล กรุ๊ป จำกัด (Yggdrazil group Co.Ltd.) 3.บริษัท ดีบัสซ์ จำกัด (Debuz Co.,Ltd.) และ4. Wicket Gaming (Thailand) Co., Ltd. โดย มีเกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การเล่า เรื่องสนุก น่าสนใจ และการนำไป พัฒนาต่อยอดในเชิงธุรกิจ
“หลังจากที่เราได้เปิดหลักสูตรการพัฒนาเกมขึ้นมา เราได้รับการตอบรับที่ดีจากนักศึกษาที่เข้ามาเรียน เราได้มีการบูรณาการสามส่วน ได้แก่ การสร้างเรื่องราวจากนิเทศศาสตร์ การออกแบบดีไซด์เกมจากศิลปะศาสตร์ และการพัฒนาเกมในส่วนของโปรแกรมมิ่งจากคณะเทคโนโลยี เราได้สอนนักศึกษาให้สามารถสร้างเกมได้ตั้งแต่ปี 1 เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ให้ไวและได้ลองประสบการณ์จริง ในปีแรกเราได้มีนักศึกษาเข้ามาสมัครเรียน 150 คน และปีที่สอง มีนักศึกษามาสมัครถึง 400 คน ซึ่งทำให้เห็นว่า เราได้รับความสนใจที่ดีมาก และเป้าหมายของเราก็คือ ทำให้นักศึกษาจบไปแล้ว สามารถบูรณาการในสายงานเกมได้หลากหลาย ไม่ว่าเทรนเกมจะเป็นอย่างไร นักศึกษาของเราจะสามารถต่อสู้และทำงานต่อยอดได้ในอนาคต” ดร. พัฒนพล กล่าวปิดท้าย
สำหรับผลการแข่งขัน BU GAME JAM 2019 ทีมชนะเลิศคือ Project Memories รองชนะเลิศอันดับ 1 Lanticon รองชนะเลิศอันดับ 2 Grand Forest และรางวัล Popular Vote Project Memories
อันดับ 1 Project Memories
อันดับ 2 Lanticon
อันดับ 3 Grand Forest